• 30
  • ก.ย.
  • 0
Author

จบแพทย์ 6 ปีที่โปแลนด์ต่อเฉพาะทางอะไรได้บ้าง

สำหรับอาชีพอื่น ๆ เมื่อเรียนจบปริญญาแล้วก็สามารถไปทำงานได้เลยเพื่อหาประสบการณ์หรือจะเรียนต่อเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมก็ได้ หรือจะทำงานเพื่อหาสิ่งที่ตัวเองชอบก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนสายการทำงานไปทำอย่างอื่น หรือจะเรียนปริญญาใบใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาขาเดิมเลยก็ได้เช่นเดียวกัน แต่สำหรับอาชีพแพทย์นั้นเมื่อจบแพทย์ 6 ปี (หรือ 4 ปีในหลักสูตรแบบอเมริกา) แล้วก็สามารถทำงานเป็นแพทย์ได้เช่นเดียวกัน แต่ว่าจะเป็นแพทย์ทั่วไปก่อนทำให้ต้องรักษาหลายโรคและมีความรู้แบบกว้าง ๆ หลายคนมักมีความตั้งใจที่จะเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านในด้านหนึ่งไปเลยหรือต้องการที่จะทำงานในสโคปที่เล็กลงแต่ละเอียดมากขึ้น

ดังนั้นก่อนที่จะไปเรียนแพทย์จึงได้มองหาช่องทางในการเรียนต่อไว้ตั้งแต่แรก เพราะการเรียนแพทยศาสตร์นั้นจะต้องวางแผนการเรียนตั้งแต่ ม.ปลาย ไปจนถึงการเรียนต่อเฉพาะทางเลยเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ดังที่วางแผนเอาไว้ สำหรับคนที่เรียนแพทย์ในประเทศไทยนั้นเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องไปใช้ทุน 3 ปีตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่รัฐจัดสรรเอาไว้ แล้วสำหรับคนที่ไปเรียนแพทย์โปแลนด์หรือคนที่ไปเรียนต่างประเทศจะต้องทำอย่างไรบ้าง Lin’s Thailand ได้รวบรวมข้อมูลเอาไว้แล้ว


เรียนจบแพทย์ในประเทศไทยแล้วเป็นอย่างไรต่อ

โดยปกติแล้วการเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทยนั้นนักศึกษาจะออกค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเล่าเรียนส่วนหนึ่งและรัฐจะอุดหนุนค่าศึกษาให้อีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องไปใช้ทุนคืนให้กับรัฐเป็นระยะเวลา 3 ปีจึงจะเป็นอิสระในการเรียนต่อหรือทำงาน ในช่วงของการใช้ทุนก็จะมีหลัก ๆ อยู่ 2 กลุ่มคือกลุ่มจับฉลากซึ่งจะใช้ทุนหรือทำงานปีแรกที่โรงพยาบาลศูนย์ที่จังหวัดที่จับฉลากได้ และทำงานปีที่ 2 และ 3 ในโรงพยาบาลชุมชน หรือก็คือทำงานโรงพยาบาลต่างอำเภออีก 2 ปี กับอีกประเภทคือกลุ่มฟิกวอร์ดซึ่งปีแรกจะทำงานที่โรงพยาบาลศูนย์และทำงานต่ออีก 2 ปีในวอร์ดที่กำหนดไว้

ในช่วงใช้ทุนนี้จะเรียนว่าเป็นช่วง intern เป็นช่วงของการเพิ่มพูนทักษะซึ่งมีหน้าที่จะต้องทำงานในวอร์ดต่าง ๆ ของโรงพยาบาล เช่น อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ศัลยกรรม สูติกรรม ศัลยกรรมกระดูก เเละวอร์ดอื่น ๆ ตามที่โรงพยายามกำหนดเอาไว้ หมอ intern นั้นถือว่าเป็นหมอเต็มตัวแล้ว ไม่ใช่นักศึกษาแพทย์อีกต่อไป จึงต้องรับผิดชอบการตรวจคนไข้ การวินิจฉัยและการสั่งยาเองทั้งหมด ถือเป็นด่านแรกที่คนไข้มาเจอก่อนจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทาง ในจุดนี้แพทย์จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานจริง การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เมื่อถึงปีที่ 2 ก็จะต้องไปทำงานในโรงพยาลชุมชนซึ่งจะมีความรับผิดชอบมากขึ้นเพราะโรงพยาบาลชุมนั้นจะมีบุคคลากรที่น้อยลงกว่าโรงพยาลศูนย์ แต่มีคนไข้ที่ค่อนข้างเยอะทำให้เป็นช่วงที่หลายคนอาจจะต้องอดหลับอดนอนเพื่ออยู่เวรตอนกลางคืน หน้าที่หลักก็คือการรักษาคนไข้และการส่งต่อคนไข้ไปยังโรงพยาบาลศูนย์ ในตรงที่หน้าที่ความรับผิดชอบจะมากขึ้นเพราะไม่มีแพทย์เฉพาะทางมาคอยคุม ทำให้ต้องคิดต้องตัดสินใจเองหาวิธีการด้วยตัวเองมากขึ้น

หลังจากทำงานครบ 3 ปีแล้วก็เป็นช่วงเวลาที่มีทั้งความรู้ ประสบความการณ์และเข้าใจความต้องการของตัวเองมากขึ้น ก็สามารถที่จะเลือกได้แล้วว่าต้องการที่จะเรียนต่อในด้านใด และก็สามารถวางแผนเพื่อไปสมัครได้ ส่วนสาเหตุที่คนเลือกเรียนต่อนั้นก็มีมากมาย เช่น ชอบการเรียน ชอบรักษาบางอย่างโดยเฉพาะ รักเด็กก็ไปเป็นหมอเด็ก ชอบดวงตาก็ไปรักษาดวงตาเป็นต้น หรือบางอาจจะอยากลดขอบเขตของการรักษาลงและยังมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานอีกด้วยเพราะมีรายได้เพิ่มขึ้น บางคนอาจจะได้เป็นอาจารย์แพทย์ซึ่งก็จะมีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มเติมขี้นไปอีก โดยการเรียนต่อเฉพาะทางนั้นมีตั้งแต่ 3-5 ปีขึ้นอยู่กับสาขาที่เลือกเรียน

แต่ถ้าหากไม่ได้จับฉลากไปใช้ทุนก็สามารถที่จะจ่ายเป็นเงินคืนแก่รัฐได้ และเลือกไปทำงานโรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกตามแต่ที่สะดวกขึ้นอยู่กับบุคคล


เส้นทางการเป็นหมอหลังเรียนจบแพทย์โปแลนด์

ไปเรียนแพทย์ต่างประเทศแล้วสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ที่ไทยได้ไหม


เรียนต่อแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทย

เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าบัณฑิตแพทย์จบใหม่นั้นจะต้องใช้ทุน 3 ปี ทำให้โรงเรียนแพทย์เฉพาะมักกำหนดคุณสมบัติการสมัครเอาไว้ว่าจะต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 3 ปีจึงจะสมัครได้ ดังนั้นที่เรียนจบจากแพทย์ต่างประเทศที่ต้องการจะเรียนต่อในประเทศไทยก็จะต้องทำงานในโรงพยาลอย่างน้อย 3 ปีเช่นเดียวกัน แต่ไม่เรียกว่าเป็นการใช้ทุนเพราะแพทย์เป็นผู้เลือกเองว่าจะทำงานที่ไหนโดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ

สำหรับการเรียนต่อนั้นจะแยกนักเรียนเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีต้นสังกัดและกลุ่มที่ไม่มีต้นสังกัด (Free Train) กลุ่มที่มีต้นสังกัดนั้น ต้นสังกัดจะออกค่าใช้จ่ายในการเรียนและรับประกันการกลับมาทำงานให้  ต้องทำสัญญาว่าหลังจากเรียนจบเฉพาะทางต้องกลับมาเป็นหมอเฉพาะทางที่โรงพยาบาลที่ให้ตำเเหน่งนั้น ในขณะที่กลุ่ม Free Train สามารถไปประกอบวิชาชีพได้อย่างอิสระ (อาจจะได้รับเงินเดือนหรือไม่ได้รับเงินเดือนจากแหล่งฝึก) ซึ่งแพทย์ที่เรียนจบจากต่างประเทศและต้องการเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทยมักจะเป็นกลุ่ม Free Train

คุณสมบัติในการเรียนต่อเฉพาะทางในประเทศไทย

1. เกรดต้อนเรียนระดับปริญญาตรี มีความสำคัญมากเพราะแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการเรียนและจะได้ทราบด้วยว่าเราถนัดหรือไม่ถนัดวิชาอะไร

2. ผลการสอบ NL หรือผลการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ไทยซึ่งแสดงให้เห็นความรู้ทางการแพทย์เป็นอย่างดี

3. ผลงานการวิจัย สำหรับคนที่มีผลงานวิจัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจะดีมาก ๆ

4. มีคนแนะนำ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเป็นที่รู้จักของอาจารย์แพทย์และอาจารย์แนะนำเราให้สถาบันนั้น ๆ


จบแพทย์โปแลนด์เรียนต่อเฉพาะทางเมืองนอก

เนื่องจากการเรียนแพทย์ที่โปแลนด์นั้นเป็นหลักสูตรอินเตอร์อยู่แล้ว ทำให้หลายคนเลือกที่เรียนต่อแพทย์เฉพาะทางในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอย่างอเมริกาหรือว่าอังกฤษซึ่งก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปจากการเรียนแพทย์ที่ประเทศไทย ผู้ที่สนใจเรียนต่อควรศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขของประเทศที่ต้องการไปเรียนต่อและใช้เวลาหาประสบการณ์ว่าตัวเองต้องการทำงานด้านใดจริง ๆ เพื่อจะได้มีความสุขต่อการทำงานในอนาคตหลังจากเรียนจบด้วย

อยากเป็นหมอที่อเมริกา

ขั้นตอนสู่การเป็นหมอที่อังกฤษ-สำหรับนักเรียนนอก


แหล่งข้อมูลที่ 1

แหล่งข้อมูลที่ 2

แหล่งข้อมูลที่ 3


อยากเป็นหมอที่อังกฤษไหม หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรอกรายละเอียดทิ้งไว้ได้เลย

หมอ-เรียนแพทย์ต่างประเทศ-มหาวิทยาลัยลูบลิน-เปิดรับสมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

??Inbox Facebook กดเลย

☎️☎️โทร : 02-645-4084, 02-645-4085

✅✅Line : @linsmedical หรือ https://line.me/R/ti/p/%40linsmedical

จะรออะไรอีก Lin’ s #เปลี่ยนเรื่องแพทย์ให้เป็นเรื่องง่าย

Leave a Comment