02-2585619

LINE: @linsmedical

การสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม

การสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม

การสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม

นอกจากแพทย์แล้ว ทันตแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่จะต้องสอบเพื่อประเมินความรู้ความสามารถก่อนที่จะไปประกอบอาชีพจริง ซึ่งการสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมเรียกว่า “การประเมินเพื่อรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม” จัดสอบโดยศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ศ.ป.ท.) ทันตแพทยสภา


ขั้นตอนและจุดประสงค์ของการสอบ

ทันตแพทยสภาจัดตั้ง “ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ศ.ป.ท.)”  เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของผู้ที่สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตร์จากสถาบันการศึกษาที่ทันตแพทยสภาให้การรับรองหลักสูตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยมีคณะกรรมการบริหาร ศ.ป.ท. ประกอบด้วยคณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ ทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย กรรมการจากทันตแพทยสภา และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่ง เพื่อให้การประเมินความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมในลักษณะการปฏิบัติงานจริงของทันตแพทย์ที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมมีความบูรณาการ โดยยึดเกณฑ์มาตรฐานความรู้ความสามารถของทันตแพทย์ ที่ทันตแพทยสภากาหนดเป็นแนวทางการประเมิน นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นหลายกลุ่ม เพื่อกำหนดโครงสร้าง รูปแบบ วิธีการและรายละเอียดของการประเมิน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานฯ ครอบคลุมความรู้ความสามารถของทันตแพทย์ที่จะปฏิบัติงานในประเทศไทย โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ขั้นตอน


การสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมขั้นตอนที่ 1

เป็นการประเมินด้านวิชาการวิชาชีพซึ่งจะทดสอบเกี่ยวกับภาควิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์พื้นฐาน (Basic medical and dental sciences) สำหรับการประเมินนิสิต/นักศึกษาทันตแพทย์ที่ผ่านการศึกษาชั้นปีที่ 3 เป็นต้นไป มีข้อสอบจำนวนทั้งสิ้น 300 ข้อ


การสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมขั้นตอนที่ 2

ภาควิทยาการคลินิกทันตกรรม (Clinical dental sciences) สาหรับการประเมินนิสิต/นักศึกษาทันตแพทย์ที่กำลังศึกษาในภาคที่ 2 ชั้นปีสุดท้าย (ปี 6) เป็นต้นไป มีข้อสอบจำนวนทั้งสิ้น 300 ข้อ


การสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมขั้นตอนที่ 3

การสอบขั้นตอนที่ 3 เป็นการประเมินด้านทักษะวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นการสอบประเมินภาคปฏิบัติ ให้มีการประเมิน 2 ส่วนย่อย คือ

1. OSLER (Objective structured long-case examination record) รวมถึงการประเมินทักษะการปฏิบัติงานคลินิก แยกเป็น 9 งานได้แก่

1. การประเมินถอนฟัน

2. การประเมินผ่าตัดฟันกรามคุดล่าง

3. การประเมินการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน

4. การประเมินการออกแบบฟันเทียมบางสวนถอดไดโครงโลหะ

5. การประเมินเตรียมฟันเพื่อทำครอบฟันหลัง

6. การประเมินบูรณะฟัน Class II

7. การประเมินบูรณะฟน Class V

8. การสอบถ่ายภาพรังสี

9. การประเมินรักษาคลองรากฟัน

    1. OSCE (Objective structured clinical examination) จัดเป็นสถานี รวม 20 สถานี ประกอบด้วย

1 ทักษะการตรวจ จำนวน 5 สถานี

2 ทักษะหัตถการทันตกรรม จำนวน 10 สถานี

3 ทักษะการสื่อสาร จำนวน 3 สถานี

4 ทักษะทางด้านจรรยาบรรณ จำนวน 2 สถานี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามเว็บไซตของ ศ.ป.ท. ได้ที่นี่

การสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม

เนื้อหาการประเมินฯ

การประเมินด้านวิชาการวิชาชีพ เป็นส่วนของเนื้อหาที่ทันตแพทย์ทั่วไปจาเป็นต้องรู้ (Must know) ในการปฏิบัติงานวิชาชีพในอนาคต ศ.ป.ท. ได้จัดทาตารางคุณลักษณะของเนื้อหาในการประเมิน (Table of specification) โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานความรู้ความสามารถของทันตแพทย์ ที่ทันตแพทยสภากำหนดไว้ 41 ข้อ แยกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

1. เนื้อหาทางวิชาการภาควิทยาการคลินิกทันตกรรม กำหนดเป็น 10 กลุ่ม คือ

1.1 วิทยาการวินิจฉัยและเวชศาสตร์ช่องปาก

1.2 ทันตกรรมบดเคี้ยวและอาการปวดบริเวณช่องปากและใบหน้า

1.3 ศัลยศาสตร์ช่องปาก

1.4 ปริทันตวิทยา

1.5 ทันตกรรมบูรณะ/หัตถการ

1.6 วิทยาเอ็นโดดอนต์

1.7 ทันตกรรมประดิษฐ์

1.8 ทันตกรรมจัดฟัน

1.9 ทันตกรรมสาหรับเด็ก

1.10 ทันตกรรมชุมชนและกฎหมาย

2. เนื้อหาทางวิชาการภาควิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์พื้นฐาน กำหนดเป็น 4 กลุ่ม คือ

2.1 อวัยวะโครงสร้างและหน้าที่ (Development Structures and Functions)

2.1.1 ศีรษะและคอ (Head and Neck)

2.1.2 ฟันและอวัยวะในช่องปาก (Teeth and Oral tissues)

2.2 สุขภาพและโรคทางระบบที่เกี่ยวข้องกับทันตแพทย์ (Biomedical sciences related to dentistry)

2.3 พยาธิวิทยาของโรคในช่องปาก (Homeostasis and pathology of oral diseases)

2.3.1 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรสภาพ (Physiologic changes)

2.3.2 การติดเชื้อ (Infection)

2.3.3 เนื้องอก (Tumors and tumor-like lesions)

2.3.4 การบาดเจ็บ (Injuries and trauma)

2.4 วิทยาการระบบบดเคี้ยว (Masticatory sciences)

คุณสมบัติของผู้เข้าสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ภาคปฏิบัติ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรอง โดยข้อสอบจะเป็นกรณีผู้ป่วย (case-based) หรือ สถานการณ์จาลอง (scenario) ที่เน้นการบูรณาการ (integration) เช่น ใน 1 case มี 3 คำถามที่ไม่แยกตามสาขาวิชา คำตอบเป็นตัวเลือก (multiple choice) ชนิด 5 คำตอบ


ลำดับขั้นตอนการสอบการสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม

1. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้ผ่าน

ในกรณีที่การตรวจสอบคุณสมบัติไมผ่าน ให้ดำเนินการตามข้อกำหนด เช่น อบรม ฝึกปฏิบัติ เป็นต้น จากนั้นให้ดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง ทั้งนี้กรรมการการศึกษา/ ทันตแพทยสภาจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาของผู้ที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม

2.การสมัครสอบข้อเขียนการสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมขั้นตอนที่ 1 และ 2

กรณีที่สอบไมผ่านให้ ดำเนินการสมัครสอบตามระยะเวลาดำเนินการของ ศ.ป.ท. จนกว่าจะผ่านภายใต้ข้อกำหนด ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ ขั้นตอนละ 5,000 บาท และในกรณีที่สอบไม่ผ่านจะต้องสมัครสอบซ่อมขั้นตอนละ 5,000 บาท

3. การตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้สมัครสอบขั้นตอนที่ 3

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ทันตแพทยสภารับรองซึ่งมีสิทธิเข้าสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ภาคปฏิบัติ ต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านการประเมินและรับรองความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภาขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 (ภาคทฤษฎี) โดยคณะกรรมการทันตแพทยสภามีมติรับรองผลการสอบดังกล่าวเรียบร้อยแล้วแล้ว

ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครสอบขั้นตอนที่ 3 จำนวน 100,000 บาท

4 การสมัครสอบและการทดสอบก่อนสอบ (Pre-test)

– กรณีที่ไม่ผ่าน กำหนดให้มีการทดสอบซ้ำในงานที่กำหนดไม่ผ่านการทดสอบ

– สถาบันการศึกษาที่ได้รับการมอบหมายเป็นสนามสอบ ดำเนินการ Pre-test

– ค่าใช้จ่ายในการ Pre-test จำนวน 220,000 บาท

ระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่เริ่มการทดสอบ

5. การสอบขั้นตอนที่ 3

สถาบันการศึกษาที่ได้รับการมอบหมายเป็นสนามสอบดำเนินการสอบตามที่ ศ.ป.ท./ ทันตแพทยสภา กำหนด กรณีที่ไม่ผ่านให้สอบซ่อมจนกว่าจะผ่านครบทุกงาน โดยมีค่าใช้จ่ายในการสอบขั้นตอนที่ 3 จำนวน 780,000 บาท กรณีที่มีการสอบซ่อมจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม มีระยะเวลา 1 ปีนับ จากวันที่เริ่มสอบ

6. ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม

เมื่อสอบผ่านทุกขั้นตอนแล้ว ให้ทันตแพทยสภาดำเนินการขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตฯ โดยค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตฯ จำนวน 5,000 บาท

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ศ.ป.ท.) ทันตแพทยสภา

ดูขั้นตอนรายละเอียดของลำดับการสอบ ได้ที่นี่

ดูเอกสารคู่มือการสอบ ได้ที่นี่


ต้องการข้อมูลคอร์สเรียนเพิ่มเติม กรอกรายละเอียดทิ้งไว้ได้เลย

หมอ-เรียนแพทย์ต่างประเทศ-มหาวิทยาลัยลูบลิน-เปิดรับสมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

??Inbox Facebook กดเลย

☎️☎️โทร : 02-645-4084, 02-645-4085

✅✅Line : @linsmedical หรือ https://line.me/R/ti/p/%40linsmedical

จะรออะไรอีก Lin’ s #เปลี่ยนเรื่องแพทย์ให้เป็นเรื่องง่าย