02-2585619

LINE: @linsmedical

คำถามที่พบบ่อย

ทำไมต้องไปเรียนแพทย์ที่ประเทศโปแลนด์

การเรียนแพทย์ในประเทศโปแลนด์นั้นได้รับการจัดอันดับว่ามีคุณภาพสูงเป็นอันดับต้น ๆ ในยุโรป ทั้งในเรื่องของวิธีการเรียนที่นำรูปแบบของอเมริกามาใช้ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังเปิดทำการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษมาอย่างยาวนาน ทำให้มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงอยู่มากมาย ทำให้การเรียนแพทย์ในประเทศโปแลนด์เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับ

การเรียนแพทย์ในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อยในเรื่องของหลักสูตรและการฝึก ในส่วนการเรียนแพทย์ของประเทศโปแลนด์นั้นเป็นไปตามมาตรฐานการสอนของสหภาพยุโรป และบอร์ดของอเมริกา (the Medical Board in the USA) ดังนั้นการเรียนแพทย์หลักสูตรภาษาอังกฤษในประเทศโปแลนด์จึงมีสิทธิ์ที่จะสมัคร residency และ การฝึกหลังเรียนจบ ( post graduate training programs) ได้ และด้วยมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ดังจึงสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพได้ในหลายประเทศ เช่น อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อังกฤษ ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ และประเทศไทย

นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายทั้งเรื่องของค่าเทอมและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าครองชีพที่ไม่ได้สูงมาก ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเรียนแพทย์หลักสูตรภาษาอังกฤษ โดยอาจไม่ต้องไปเรียนไกลถึงอังกฤษหรือเมริกา

สำหรับมาตรฐานการเรียนที่เป็นจุดเด่นของโปแลนด์สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : เรียนแพทย์ที่ไทยก็ดีอยู่แล้วจะไปเรียนแพทย์ที่โปแลนด์ทำไม

ต้องจบอะไรถึงจะสามารถสมัครเรียนต่อแพทย์ได้ ?

สำหรับลักสูตรแพทย์ 6 ปีและทันตแพทย์ 5 ปีนั้น สามารถสมัครได้โดยใช้วุฒิการศึกษาระดับมัธยมปลายในการสมัคร โดยจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยรวม 3.00 และต้องมีเกรดในรายวิชาชีววิทยา เคมีและฟิสิกส์อยู่ในระดับที่ดี

แต่สำหรับหลักสูตรแพทย์ 4 ปีนั้น ผู้เรียนจะต้องเรียนจบในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และมีหน่วยในรายวิชา

– General biology 2 semesters 

– General Chemistry 2 semesters

– Organic Chemistry 2 semesters

– General  Physics 1 semester

นอกจากนี้ยังต้องมีผลสอบ MCAT หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ

อ่านเพิ่มเติม : หลักสูตรแพทย์ 4 ปี

สามารถใช้ผล GED ในการสมัครเรียนได้หรือไม่ ?

GED หรือเทียบวุฒิการศึกษาระดับมัธยมปลายตามหลักสูตรการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถสอบได้ในหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทย GED ได้รับการรับรองจากหน่วยงานด้านการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงกระทรวงศึกษาธิการ ของประเทศไทย (Ministry of Education, Thailand)

จากนั้นต้องทำการเทียบวุฒิที่กระทรวงศึกษาธิการมาให้เรียบร้อย หากนักเรียนสนใจเรียนคอร์ส GED สำหรับเตรียมสอบเข้าหลักสูตรแพทย์ต่างประเทศ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร 02-6454084 และ 02-6454085

ปรึกษาคะแนน GED ว่าสามารถสมัครได้หรือไม่ ส่งมาข้อมูลเพื่อพิจารณาที่ linsthailand.medicalconsulting@gmail.com

อ่านเพิ่มเติม : สอบเทียบมปลายไปเรียนแพทย์ต่างประเทศได้หรือไม่

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการเทียบวุฒิการศึกษาต่างประเทศ

สามารถใช้ผล IGCSE ในการสมัครเรียนได้หรือไม่ ?

สำหรับผู้ที่ผ่านการสอบเทียบ IGCSE มาแล้ว สามารถสมัครเข้าเรียนในคณะแพทย์ศาสตร์ และทันตแพทย์ของมหาวิทยาลัยในโปแลนด์ได้ โดยต้องมีผลสอบ IGCSE หรือ O-level 5 วิชาร่วมกับ A Level วิชาในสายวิทยาศาสตร์ 3 วิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ซึ่งควรจะมีผลสอบที่ B หรือ A ขึ้นไป

จากนั้นต้องทำการเทียบวุฒิที่กระทรวงศึกษาธิการมาให้เรียบร้อย หากนักเรียนสนใจเรียนคอร์ส IGCSE + A Level สำหรับเตรียมสอบเข้าหลักสูตรแพทย์ต่างประเทศ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร 02-6454084 และ 02-6454085

ปรึกษาคะแนน วุฒิการศึกษาประเทศอังกฤษว่าสามารถสมัครได้หรือไม่ ส่งมาข้อมูลเพื่อพิจารณาที่ linsthailand.medicalconsulting@gmail.com

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการเทียบวุฒิการศึกษาต่างประเทศ

ต้องมีผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ เช่น TOEIC, TOEFL, หรือ IELTS หรือไม่ ?

เนื่องจากการเรียนแพทย์และทันตแพทย์ที่โปแลน์เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ผู้สนใจจึงจำเป็นที่จะต้องมีผลสอบวัดระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่จะทำการสมัคร

สำหรับผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จะต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษเพื่อยืนยันความสามารถทักษะด้านภาษาอังกฤษดังนี้

  • IELTS  ขั้นต่ำ  6.5 คะแนน
  • TOEFLขั้นต่ำ  87 คะแนน สำหรับ  Internet-Based Test (iBT)
  • TOEFL ขั้นต่ำ 180 คะแนน สำหรับ Computer-Based Test (CBT)
  • TOEIC ขั้นต่ำ  700 คะแนน

สำหรับมหาวิทยาลัยในบางประเทศอย่างจีนหรือฟิลิปปินส์อาจจะไม่ได้ต้องการผลสอบภาษาอังกฤษ แต่ก็ขอแนะนำว่าการเรียนในหลักสูตรอินเตอร์นั้น ผู้เรียนควรที่จะมีความรู้ความสามารถในด้านภาษาอังกฤษ ดังนั้นจึงควรประเมินตัวเองก่อนเริ่มสมัครเรียน

Read more

คะแนน SAT และ BMAT สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่

สำหรับการสอบ SAT หรือ Scholastic Assessment Test ซึ่งเป็นข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยของอเมริกาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันไปทั่วโลก และ BMAT หรือ BioMedical Admissions Test ซึ่งเป็นข้อสอบเข้าแพทย์ของอังกฤษนั้น ทางมหาวิทยาลัยแพทย์ในโปแลนด์นั้น ก็รับไว้พิจารณาเช่นกัน แต่เนื่องจากแต่ละมหาวิทยาลัยมีข้อสอบเป็นข้อสอบตรงของทางมหาวิทยาลัย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงจะพิจารณาผลสอบจากคะแนนตรงนี้ และพิจารณา SAT หรือ BMAT เป็นส่วนเสริม

อายุไม่ถึง 18 ปี สมัครเรียนแพทย์ได้หรือไม่ ?

เนื่องจากหลักสูตรของโปแลนด์มีความยืดหยุ่นและมีคุณภาพ จึงได้รับความนิยมจากกลุ่มนักเรียนที่มีเป้าหมายอยากเรียนแพทย์อย่างชัดเจน ประกอบกับปัจจุบันการสอบเทียบวุฒิถือเป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับนักเรียนมัธยมที่อยากจะทำตามความฝันเร็วขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นน้อง ๆ จากโรงเรียนนานาชาติจะนิยมสอบเทียบวุฒิ แต่ปัจจุบันน้องจากโรงเรียนสามัญก็นิยมสอบเช่นเดียวกัน

ดังนั้นจึงตอบได้ว่าสามารถไปเรียนได้ แต่ต้องมีการสอบเทียบวุฒิให้เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากหลักสูตรของโปแลนด์มีความยืดหยุ่นและมีคุณภาพ จึงได้รับความนิยมจากกลุ่มนักเรียนที่มีเป้าหมายอยากเรียนแพทย์อย่างชัดเจน และตัดสินใจสอบเทียบวุฒิไม่ว่าจะเป็น GED หรือ IGCSE (+A Level)

ซึ่งหากมีความประสงค์ที่จะสอบเทียบวุฒิเพื่อเรียนหลักสูตรแพทย์หรือทันตะ สามารถปรึกษาแนวทางการเตรียมตัว เพราะลินส์จะช่วงให้คำแนะนำในเรื่องการวางแผนการศึกษา และการวางแผนการสอบใบประกอบวิชาชีพในอนาคต

ซึ่งนักเรียนในโครงการของลินส์ ก็มีคนสอบเทียบวุฒิมากมาย แสดงให้เห็นว่าแม้จะอายุน้อย แต่ถ้ามีความรู้วิทยาศาสตร์และภาษาดีเยี่ยม สามารถสมัครได้เลย

เรียนต่อแพทย์โปแลนด์ ต้องสมัครวีซ่าประเภทใด ?

วีซ่าโปแลนด์แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1. Type C “Schengen Visa” (พำนักระยะสั้น)

  • สำหรับผู้ที่ต้องการพำนักหรือท่องเที่ยวในโปแลนด์ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • วีซ่าเชงเก้นอนุญาตให้ผู้ถือวีซ่าประเภทเดินทางภายในเขตเชงเก้นได้ นอกเหนือจากประเทศโปแลนด์
  • 90 วัน จะเริ่มนับจากวันที่เราเข้าประเทศโปแลนด์

2. Type D “National Visa”

  • สำหรับผู้ที่ต้องการพำนักหรือท่องเที่ยวในโปแลนด์ระยะเวลาตั้งแต่ 91 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 180 วัน
  • หากต้องการอยู่นานเกินกว่านี้ สามารถสมัครวีซ่าได้ต่อหรือสมัคร Residence Card เพื่อการอยู่อาศัยที่นานขึ้น
  • นักเรียนจะต้องสมัครวีซ่าประเภทนี้สำหรับเดินทาง

ณ ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนไทยจำนวนกี่คนในความดูแลของบริษัทลินส์ ?

บริษัทลินส์สาขาประเทศไทยเริ่มส่งนักเรียนไปเรียนแพทย์-ทันตะต่างประเทศตั้งแต่ปี 2012

ปัจจุบันลินส์มีนักเรียนในโครงการทั้งหมดรวม 3 ประเทศ (โปแลนด์ –  ฟิลิปปินส์ – จีน)  396 คน

อ่านเพิ่มเติม : จำนวนนักเรียนในโครงการของ Lin’s Thailand

เรียนแพทย์ที่โปแลนด์ จะต้องเรียนภาษาโปลิชด้วยหรือไม่ ?

ภาษาประจำประเทศโปแลนด์เรียกว่าภาษาโปลิช ซึ่งภาษาโปลิชไม่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเรียนแพทย์ที่โปแลนด์ เพราะการเรียนการสอนและการสอบใบประกอบของที่โปแลนด์จะใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด

ส่วนในการฝึกชั้นคลินิกนั้น หากคนไข้พูดภาษาอังกฤษไม่ได้อาจารย์ผู้ดูแลจะเป็นผู้แปลให้นักศึกษา และเนื่องจากมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในโปแลนด์เล็งถึงเห็นความสำคัญของการเรียนภาษา เพื่อให้นักศึกษาใช้ในชีวิตประจำวัน ในหลักสูตรแพทย์หรือทันตะ ช่วงชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 จึงมีวิชาภาษาโปลิชให้นักเรียนได้เรียน

แต่หากผู้ใดที่สนใจก็สามารถหาเรียนพิเศษเพิ่มเติมนอกเวลาได้ เพื่อที่ว่าในชั้นคลินิกเราสามารถพูดคุยกับคนไข้ได้โดยตรง

บริษัทลินส์มีส่วนช่วยในการเตรียมตัวสอบเข้าอย่างไร ?

สำหรับการสอบเข้าเรียนในประเทศโปแลนด์นั้นค่อนข้างยาก และโควตาการสมัครเข้าเรียนแพทย์ในประเทศโปแลนด์นั้นค่อนข้างจำกัด ลินส์จึงมีความต้องการที่จะช่วยให้น้อง ๆ นักเรียนที่สมัครเข้ามาในโครงการนั้นสามารถเข้าเรียนให้ได้ทุกคน ทางเราจึงจัดทำ Pre-test ซึ่งเปรียบเสมือนข้อสอบจริง โดยจะจัดให้ทั้งในส่วนของข้อเขียนและสัมภาษณ์ให้เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยที่นักเรียนต้องการเข้าศึกษาต่อ

ข้อดีของการทำ Pre-test จะช่วยให้ผู้เข้าสอบมีความพร้อมและสามารถรู้ถึงจุดที่ต้องพัฒนา ก่อนวันสอบจริง ซึ่งที่ผ่านมาในทุก ๆ ปี การทำ Pre-test ช่วยให้น้อง ๆ ในโครงการสอบติดได้ในอัตราที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เกี่ยวกับความเชื่อเหลือของลินส์

ประเทศโปแลนด์มีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ?

Poland (โปแลนด์) หรือสาธารณรัฐโปแลนด์ เมืองหลวงคือกรุงวอซอร์ มีเพื่อนบ้านถึง 7 ประเทศ แต่กระนั้นโปแลนด์ก็ไม่ได้จุดมุ่งหมายของการท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เยอรมันหรือเช็ก ทำให้โดยส่วนใหญ่แล้วผู้คนในประเทศโปแลนด์จึงเป็นคนท้องถิ่น และนักศึกษาที่เข้าไปเรียนหลักสูตรอินเตอร์ในประเทศโปแลนด์ ทำให้โปแลนด์มีความปลอดภัยที่สูง ไม่มีเหตุการณ์ก่อการร้ายเหมือนอย่างประเทศยุโปรในบางประเทศ ดังนั้นจึงค่อนข้างมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัย

Read more

หลังจากเรียนจบ สามารถกลับมาทำงานที่ประเทศไทยได้หรือไม่?

หลังจากเรียนจบแพทย์จากต่างประเทศ นักศึกษาหรือบัณฑิตจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ไทยให้ผ่านเสียก่อน ซึ่งแพทยสภาได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบใบประกอบวิชาชีพเอาไว้ว่า ผู้ที่จะมีสิทธิ์ขอรับการประเมินจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้สำหรับการเป็นสมาชิกแพทยสภาและคุณสมบัติอื่นดังนี้

ประเภทที่หนึ่ง เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสถาบันการศึกษาในประเทศไทยหรือในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง

ประเภทที่สอง เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่แพทยสภารับรอง

ประเภทที่สาม เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง

ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยที่ Lin’s Thailand ส่งนักเรียนไปเรียนนั้น ล้วนผ่านการรับรองหลักสูตรโดยแพทยสภา จึงถือว่าเข้าเกณฑ์ประเภทที่ 1 และ 3 จึงสามารถมั่นใจได้ว่าหลักสูตรได้มาตรฐาน และนักเรียนสามารถมีสิทธิกลับมาสอบใบอนุญาติประกอบวิชาชีพเวชกรรมและทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายเหมือนนักเรียนที่จบในประเทศไทย

 

สามารถดูรายชื่อโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภาได้ที่นี่

นักเรียนไทยสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ที่โปแลนด์หรือประเทศอื่นในทวีปยุโรปหรือไม่ ?

นักเรียนที่ไปโปแลนด์นั้นสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ของโปแลนด์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ของประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้เงื่อนไขการสอบจะต้องเป็นไปตามกฎของยุโรป นั่นก็คือแพทย์จะต้องมีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาล (Internship) 12 – 18 เดือน 

นอกจากนี้จะต้องมีผลสอบภาษาของประเทศที่ต้องการทำงาน เวพราะทุกประเทศจะมีภาษาเป็นของตัวเองฉะนั้นหากต้องการไปทำงานประเทศอื่นๆจึงจำเป็นต้องเรียนภาษาของประเทศนั้นๆและมีผลทดสอบทางภาษาเช่น ภาษาโปลิช ภาษาสเปน ภาษาอินาเลี่ยนหรือภาษาเยอรมันเป็นต้น

Read more

หลังจากเรียนจบแล้ว มีโอกาสเป็นหมอที่อังกฤษได้หรือไม่

สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบวิชาชีพแพทย์ในอังกฤษไม่ว่าจะเป็นในโรงพยาบาล หรือคลินิกเอกชนก็ต้องมีใบมนุญาตทำงานให้ถูกกฎหมายเสียก่อน โดยการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ของอังกฤษ ซึ่งมีผู้ดูแลคือ General Medical Council (GMC)

ผู้ที่เรียนจบแพทย์จากนอกประเทศอังกฤษทุกคนจะต้องสอบ Professional and Linguistic Assessment Board (PLAB) ให้ผ่าน ซึ่งข้อสอบจะเป็นการวัดทักษะความรู้ ความสามารถรวมไปถึงความสามารถด้านการสื่อสารสำหรับการทำงานในประเทศอังกฤษ ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 2 พาร์ท โดยในส่วนแรกนั้นจะเป็นข้อสอบแบบ multiple choice 180 ข้อ ทดสอบเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และความรู้ทางการแพทย์ ซึ่งจะให้เวลาสอบทั้งหมด 3 ชั่วโมง สามารถสอบได้จากศูนย์สอบที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศ

แต่สำหรับขั้นตอนที่ 2 จะต้องสอบที่ประเทศอังกฤษเท่านั้น เพราะจะเป็นข้อสอบความรู้ด้านคลินิกเชิงโครงสร้างแบบมีวัตถุประสงค์

ซึ่งผู้ที่จะสอบ PLAB ได้ จะสอบ International English Language Testing System (IELTS) ที่คะแนน 7.5 ซึ่งแต่ละพาร์ททั้ง 4 พาร์ท ฟัง พูด อ่าน เขียนจะต้องได้คะแนน 7.0 ขึ้นไปอีกด้วย