• 2
  • พ.ค.
  • 0
ไปเรียนแพทย์เมืองนอกยื่นแค่เกรดก็ได้จริงหรือ
Author

ไปเรียนแพทย์เมืองนอกยื่นแค่เกรดก็ได้จริงหรือ

การสอบเข้าแพทย์ที่ไทยนั้นยากเย็นเหลือเกินเพราะจำนวนผู้สมัครที่ต้องการเรียนในคณะแพทยศาสตร์นั้นมีเยอะมาก ๆ เมื่อเทียบกับจำนวนที่โรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ สามารถรับคนเข้าไปเรียนได้จริง แต่ทำไมบางครั้งเรากลับได้ยินว่าการไปเรียนแพทย์เมืองนอกนั้นไม่ต้องสอบแค่ยื่นเกรดอย่างเดียวก็ไปเรียนได้เลย ทำไมจึงง่ายดายอย่างนั้น

Lin’s Thailand จึงอยากไขข้อข้องใจตรงนี้ว่าทำไมบางมหาวิทยาลัยแพทย์ในต่างประเทศจึงพิจารณาแค่เกรดก็รับนักศึกษาเข้าไปเรียนได้เลย แต่นอกเหนือจากเกรดแล้ว จริง ๆ มหาวิทยาลัยแพทย์ต่างประเทศเขายังมีเกณฑ์อะไรอีกบ้างพิจารณานักศึกษาเข้าไปเรียนต่อ


เกรดเกี่ยวกับการเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์อย่างไร

เกรด หรือ GPA (Grade Point Average) ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะคณะใดก็ตาม แต่ยิ่งสำหรับคณะแพทยศาสตร์ด้วยแล้ว เกรดถือเป็นปัจจัยสำคัญขั้นต้นที่จะบอกได้เลยว่าเราควรจะเข้าเรียนในคณะนี้หรือเปล่า เพราะคณะสายการแพทย์นั้น ผู้เรียนจะต้องมีความขยันและอดทนในการอ่านหนังสือ เกรดเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนทั้ง “ความขยัน” ในอ่านการหนังสือจนจำได้และสอบได้คะแนนดี และสะท้อน “ความอดทน” ในการอ่านหนังสือแม้จะเป็นวิชาที่ไม่ชอบ

ด้วยเหตุนี้เองบางมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม (ที่นั่งเรียน) ในการรับนักศึกษาเข้าเรียน จึงพิจารณานักศึกษาเข้าเรียนโดยใช้เพียงการยื่นเกรดอย่างเดียวก็มี โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในบางประเทศอย่างโซนรัสเซีย หรือบางประเทศในแถบยุโรป เนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมในการเรียนมหาวิทยาลัยที่อาจจะไม่ได้สูงมากนัก ค่านิยมในการทำงานที่หลาย ๆ อาชีพก็ได้รับค่าตอบแทนได้ใกล้เคียงกัน ทำให้คณะแพทย์เองก็มีที่ว่างเพียงพอที่จะรับนักศึกษาเข้าไปเรียน

นอกจากนี้ บางมหาวิทยาลัยยังมีนโยบายที่มองว่าเขาเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถสร้างแพทย์ที่เก่งได้ แม้ว่านักศึกษาเหล่านั้นจะไม่ได้มีพื้นฐานที่เก่งมาก่อน ขอเพียงมีความขยันก็พอ ในขณะที่บางมหาวิทยาลัยก็อยากได้เด็กเก่ง ๆ ไปเลย โดยมีข้อสอบมากมายเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนแพทย์


อ่านต่อได้ที่ : ข้อสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนแพทย์


อย่าลืมว่าเกรดอย่างเดียวไม่ช่วยให้สอบติดหมอนะ

เนื่องจากเกรดเพียงอย่างเดียวอาจจะแสดงให้กรรมการเห็นว่าเราเป็นคนที่ความขยันคู่ควรกับการเรียนต่อแพทย์ แต่เกรดในแต่ละโรงเรียนแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ต้องบอกตรง ๆ ว่าบางโรงเรียนก็ให้เกรดง่าย บางโรงเรียนก็ให้เกรดยาก ดังนั้นเรามาดูกันว่านอกเหนือจากเกรดแล้ว มีอะไรบ้างที่จะช่วยให้กรรมการเห็นว่าเราคู่ควรกับการเรียนแพทย์


คณะกรรมการการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อเขาพิจารณาอะไรอีกบ้าง

1. คะแนน MCAT

เรียนแพทย์-เมืองนอก-ยื่นเกรด

The Medical College Admission Test (MCAT) คือแบบทดสอบสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อสาขาวิชาการแพทย์ในอเมริกา โดยการทดสอบจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ 1. วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (physical sciences) 2. การใช้เหตุผล (Verbal Reasoning), 3. ชีววิทยา และ 4. เขียนเรียงความ 2 บทความ ซึ่งจะต้องสอบให้ได้เกิน 80% ขึ้นไปถึงจะมั่นใจได้ 100% ว่าเรามีโอกาสเรียนแพทย์แน่นอน (ในอเมริกา)

แต่ถ้าเราไม่ได้กำลังจะเรียนต่อแพทย์ในอเมริกาการสอบให้ได้เปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 50 ขึ้นไป (หรือประมาน 500 คะแนน) ก็ถือว่าเป็นผู้สมัครที่มีความน่าสนใจมาก ๆ แล้วสำหรับมหาวิทยาลัย เพราะข้อสอบนี้จริง ๆ แล้วมุ่งเน้นไปที่ความรู้ระดับมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว


2. เขียนบทความเกี่ยวกับแพทย์ที่มีความน่าสนใจ

เรียนแพทย์-เมืองนอก-ยื่นเกรด

การเขียน Motivation Letter เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญสำหรับการเรียนแพทย์ต่างประเทศเป็นอย่างมาก เพราะในขณะที่ผู้สมัครอยู่อีกประเทศหนึ่ง กรรมการก็สามารถรู้จักผู้สมัครคร่าว ๆ ก่อนได้ แต่หลายคนกลับละเลยเรื่องตรงนี้ เพราะคิดว่าเขียนยาวไป กรรมการก็คงไม่อ่าน

แต่เอาเข้าจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย ในโซนยุโรปหรืออเมริกานั้นเขาให้ความสำคัญกับการอ่านมาก ๆ ดังนั้นต่อให้  Motivation Letter ของเราจะยาวแค่ไหน กรรมการก็จะตั้งใจอ่านอยู่แล้ว (แต่ไม่ควรยาวเกิน 1 หน้ากระดาษ A4)

ซึ่งนอกจากเนื้อหาที่เราต้องการจะสื่อแล้ว ยังมีเรื่องการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกหลัก การใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้อย่างถูกต้อง ก็จะยิ่งช่วยดึงดูดกรรมให้สนใจเราได้มากขึ้น เพราะกรรมการก็จะมองว่าเราเป็นคนที่ใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ


3. ลักษณะท่าทางระหว่างการสัมภาษณ์

เรียนแพทย์-เมืองนอก-ยื่นเกรด

ในหลายมหาวิทยาลัยอาจจะไม่ได้สอบสัมภาษณ์เพื่อรับนักศึกษาเข้า แต่เมื่อสนใจนักศึกษาที่ยื่นใบสมัครเข้ามาแล้ว ก็อาจที่จะติดต่อขอสัมภาษณ์เพื่อให้รู้จักกับผู้สมัครมากขึ้น โดยอาจจะเป็นคำถามง่าย ๆ อย่าง

– การแนะนำตัวเอง

– รู้จักอะไรเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยบ้าง

– ทำไมอยากเป็นหมอ เป็นต้น

เมื่อได้พูดคุยกันแล้ว กรรมการก็จะวิเคราะห์ในเรื่องการภาษากายและการใช้คำพูดของเรา รวมถึงวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนแพทย์ของเราด้วยว่าที่เรามาสมัครกับเขา เรารู้จักหลักสูตรของเขามากน้อยแค่ไหน

ประเด็น ๆ หลักเลยก็คือว่า กรรมการ เขาต้องการทราบว่าเราจะพูดถึงจึดเด่นของเราได้อย่างไรบ้าง และทำไมเราจึงเป็นบุคคลที่คู่ควรกับการเรียนแพทย์ เพราะบางคนอาจจะเป็นคนที่เกรดดี แต่ว่าพูดจาไม่รู้เรื่องเลย แบบนี้ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นแพทย์ที่ดีไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะแพทย์ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนไข้และเพื่อนร่วมงานอีกมากมาย


4. ประสบการที่นอกเหนือจากการเรียน

เรียนแพทย์-เมืองนอก-ยื่นเกรด

Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงาน น่าเป็นอีกคำหนึ่งที่เด็กไทยรู้จักกันเป็นอย่างมากจากการเปลี่ยนระบบเข้ามหาวิทยาลัยมาเป็นระบบ TCAS ในต่างประเทศเอง กิจกรรมนอกห้องเรียนทั้งหลาย ก็สามารถรวบรวมมาใส่ในแฟ้มสะสมผลงานได้เช่นเดียวกัน อย่างบางคนเคยมีประสบการณ์ฝึกงานในโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัคร หรือแบบเดินดูการทำงานของแพทย์ ก็ยิ่งทำให้ผู้สมัครดูน่าสนใจมากขึ้น

แต่จริง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานในโรงพยาบาลเสมอไป การทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ใช่การเรียนทั้งหมด ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาเป็นผลงานที่ช่วยให้เป็นผู้สมัครนักศึกษาแพทย์ที่โดดเด่นได้


ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรอกรายละเอียดทิ้งไว้ได้เลย

หมอ-เรียนแพทย์ต่างประเทศ-มหาวิทยาลัยลูบลิน-เปิดรับสมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

??Inbox Facebook กดเลย

☎️☎️โทร : 02-645-4084, 02-645-4085

✅✅Line : @linsmedical หรือ https://line.me/R/ti/p/%40linsmedical

จะรออะไรอีก Lin’ s #เปลี่ยนเรื่องแพทย์ให้เป็นเรื่องง่าย

Leave a Comment