• 26
  • พ.ย.
  • 0
เป็นแพทย์-อเมริกา-หมอ-ทำงานที่อเมริกา-USMLE
Author

อยากเป็นหมอที่อเมริกาต้องทำอย่างไรบ้าง

อเมริกาเป็นประเทศในฝันด้านการทำงานของคนทั้งโลก ด้วยผลตอบแทนที่สูงและโอกาสในการร่วมงานกับคนจากหลากหลายประเทศ แต่การจะเข้าไปทำงานที่ประเทศอเมริการนั้นก็ต้องผ่านด่านอะไรมากมาย แล้วอาชีพหมอล่ะ? จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? Lin’s Thailand จะไขข้อสงสัยให้กับผู้ที่สนใจจะทำงานเป็นหมอในประเทศอเมริกาเอง


เงื่อนไขขั้นต่ำของผู้ที่ต้องการเป็นแพทย์ในอเมริกามีอะไรบ้าง

การเป็นหมอในอเมริการนั้น ถ้าเป็นผู้ที่เรียนในอเมริกาเลยจะต้องจบปริญญาตรีในสาขาวิชาใด วิชาหนึ่งก่อน จากนั้นก็เรียนต่อในคณะแพทย์อีก 4 ปี แล้วค่อยฝึกงานเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลอีกที จึงจะสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ได้ ขั้นตอนก็จะเป็นดังนี้

    1. จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย เทียบเท่า เกรด 12 หรือชั้น ม.6 หรืออาจจะสอบเทียบวุฒิ GED
    2. เรียนปริญาตรีในคณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ 4 ปี หรือปริญญาตรีในคณะที่สามารถสมัครเรียนต่อแพทย์หลักสูตร 4MD ได้
    3. สอบ MCAT (Medical School Admission test) เพื่อศึกษาต่อในคณะแพทย์
    4. เรียนคณะแพทยศาสตร์อีก 4 ปี

สำหรับผู้ที่ต้องการจะเรียนต่อในคณะแพทย์นั้นอาจจะไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นผู้ที่จบคณะใดคณะหนึ่งมาเป็นพิเศษ แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้เรียนก็ควรที่จะเรียนในคณะที่มีวิชาชีววิทยากับเคมีมากเป็นพิเศษ เพื่อเตรียมตัวในการสอบเข้าและเรียนแพทย์ในอนาคต ซึ่งก็อาจจะมีบางหลักสูตรที่สอนวิชา Pre-med ให้นักศึกษาสำหรับเตรียมตัวสอบ Medical College Admission Test (MCAT) ด้วย

แต่สำหรับคนที่จบ ม.6 ในไทยสามารถเรียนในหลักสูตรแพทย์ 6 ปีที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาของอเมริกาก็ได้ เช่น แพทย์ในประเทศโปแลนด์ เป็นต้น จากนั้นก็สอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ของอเมริกาตามปกติ


MCAT – Medical College Admission Test – คืออะไร

MCAT เป็นข้อสอบแบบ multiple-choice ที่นักเรียนจะต้องสอบให้ผ่านจึงจะมีสิทธิ์เรียนในคณะแพทย์ ข้อสอบจะประกอบไปด้วยวิชา ฟิสิกส์ ชีววิทยา การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) และการใช้ภาษา (Verbal skills) ซึ่งจะใช้เวลาสอบทั้งหมด 5 ชั่วโมงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ยิ่งคะแนนสอบมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสในเรียนต่อแพทย์มากเท่านั้น

เป็นแพทย์-อเมริกา-หมอ-ทำงานที่อเมริกา-USMLE

โรงเรียนแพทย์ (Medical School) ในอเมริกา

โรงเรียนแพทย์ในอเมริกาจะเรียนทั้งหมด 4 ปี หรือ 4MD โดยใน 2 ปี แรกจะเป็นการเรียนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างองค์ความรู้และวิธิการคิดแบบแพทย์ ซึ่งจะเป็นการเรียนผ่าน Textbook และการเรียนในห้องแลปเป็นหลัก และในระหว่างที่เรียน 2 ปีแรก ผู้เรียนจะต้องสอบ United States Medical Licensing Examination สเต็ปที่ 1 อีกด้วย

จากนั้นอีก 2 ปีหลัง ผู้เรียนจะต้องเรียนในชั้นคลินิก ซึ่งจะต้องฝึกงานในโรงพยาบาลกับผู้ป่วยจริง ซึ่งผู้เรียนจะต้องนำความรู้เรียนมาประยุกต์ใช้ และหลังจากที่เรียนจบก็จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพขั้นที่ 2 เมื่อสอบผ่านแล้วก็ฝึกงานในโรงพยาบาลต่ออีก จนถึงกำหนดสอบขั้นที่ 3 เมื่อสอบผ่านทั้ง 3 ขั้นตอนก็จะสามารถประกอบวิชาชีพแพทย์ในอเมริกาได้


ถ้าไม่ได้เรียนจบแพทย์ที่อเมริกาทำอย่างไร

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนในประเทศอเมริกา ก็สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพได้แต่จะต้องมีวุฒิ MD จากสถาบันที่แพทยสภาอเมริการับรองก่อน จากนั้นก็สอบ United States Medical Licensing Examination (USMLE) เช่น แพทย์ 4MD และ 6MD ในประเทศโปแลนด์

เป็นแพทย์-อเมริกา-หมอ-ทำงานที่อเมริกา-USMLE

ใบประกอบวิชาชีพแพทย์ของอเมริกา United States Medical Licensing Examination (USMLE)

ใบประกอบวิชาชีพแพทย์ของอเมริกา หรือ USMLE นั้นเป็นข้อสอบที่มีการวัดความรู้การเป็นแพทย์ในหลายขั้นตอน ซึ่งนักเรียนทุกคนที่ต้องการทำงานในอเมริกาจะต้องสอบให้ได้ ในข้อสอบจะเน้นความรู้แพทย์ วิทยาศาสตร์สำหรับแพทย์และการประยุกต์ใช้ความรู้กับผู้ป่วยอย่างปลอดภัย

การสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์อเมริกาหรือ USMLE ถือเป็นข้อสอบแพทย์ที่มีความยากอันดับต้น ๆ ด้วยเหตุผลที่ว่านักเรียนแพทย์ของอเมริกานั้นจะต้องเป็นผู้ที่จบปริญญาตรีมาก่อนแล้วจึงมาเรียนต่อแพทย์อีก 4 ปี จึงถือว่านักเรียนกลุ่มนี้มีวัยวุฒิที่สูง USMLE จึงเป็นข้อสอบที่วัดทั้งความรู้ ความสามารถแล้วยังวัดเรื่องมุมมองทัศนคติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพแพทย์อย่างครบถ้วน จนถือเป็นแนวทางการสอบวัดความรู้แพทย์ไปในอีกหลายประเทศอีกด้วย

ข้อสอบ USMLE หรือ United States Medical Licensing Examination นั้นแบ่งการสอบออกเป็น 3 ขั้นตอน จัดสอบโดย the Federation of State Medical Boards (FSMB) และ the National Board of Medical Examiners (NBME) ซึ่งข้อสอบนี้ถือเป็นข้อสอบกลางที่เด็กที่เรียนในอเมริกาและแพทย์จากทั่วโลก (International Medical Graduates (IMGs)) ต้องสอบร่วมกัน ทำให้ในปี ๆ หนึ่งนั้นมีนักเรียนแพทย์เข้าสอบเป็นจำนวนมาก

ข้อสอบ USMLE จะแบ่งสอบเป็น 3 ขั้นตอน ซึ่งไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนในอเมริกาหรือนอกประเทศอเมริกาก็จะต้องสอบให้ผ่านทั้งหมดก่อนที่จะได้ทำงานในโรงพยาบาลของอเมริกา


รายละเอียดคอร์สเรียน KAPLAN USMLE Step 1


คุณสมบัติในการสอบใบประกอบวิชาชีพ

การสอบ License ของอเมริกาอาจมีข้อแตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเหมือนกันนั่นก็คือผู้ที่ต้องการทำงานในอเมริกาต้องผ่าน USMLE ขั้นตอนที่ 1 และ/หรือ2 จากนั้นก็ฝึกงานอย่างน้อย 1 ปีในโรงพยาบาลที่อเมริกา ซึ่งผู้ที่ฝึกงานจะได้รับความรู้และการสอนงานให้สามารถรักษาคนได้จริง จึงจะมีสิทธิ์ในการสอบใบประกอบวิชาชีพขั้นตอนสุดท้าย


จะฝึกงานในโรงพยาบาลของอเมริกาได้อย่างไร

เนื่องจากผู้สมัครเข้ามาฝึกงานในโรงพยาบาลของสหรัฐนั้นมีจำนวนค่อนข้างมาก โรงพยาบาลส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการเลือกผู้สมัครเรียกว่า ระบบ “Matching” หรือระบบจับคู่นั่นเอง โดยที่โรงพยาบาลจะกำหนดคุณสมบัติที่เหมาะสมเอาไว้ ซึ่งทั้งตัวผู้สมัครก็จะได้โรงพยาบาลที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของตัวเอง โดยระบบ “Matching” จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ฝึกงานทุกปีในเดือนมีนาคม โดย สำนักงานจับคู่แห่งชาติ หรือ National Resident Matching 

ประเด็นสำหรับคือผู้ที่ต้องการจะฝึกงานในโรงพยาบาลของอเมริกาจะต้องสอบ USMLE ให้ได้คะแนนมากกว่า 200/82 คะแนนขึ้นไป นอกจากนี้ก็อาจพิจารณาว่าผู้ที่ต้องการฝึกงานงั้น เคยฝึกงานในโรงพยาบาลของสหรัฐมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมฝึกงานระยะสั้นหรือหลักสูตรแลกเปลี่ยนที่ได้เรียนชั้นคลินิกในอเมริกา รวมถึงได้รับจดหมายหรือหนังสือรับรองจากแพทย์ในอเมริกาที่นักศึกษาเคยไปฝึกงานหรือทำงานด้วย

สิ่งที่สำคัญอีกประการคือผู้ที่ต้องการฝึกงานจะต้องบอกได้ว่าเพราะเหตุผลตนเองถึงสมควรฝึกงานในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจดหมายเพื่อระบุเป้าหมาย และแรงจูงใจในการเป็นแพทย์ เป้าหมายในอนาคตว่าต้องการ่ำงานเฉพาะทางด้านไหน และจะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ก็จะช่วยให้กรรมการให้ความสนใจได้เช่นเดียวกัน

Kaplan-USMLE-Lin's-เรียนแพทย์ที่อเมริกา-เป็นหมอที่อเมริกา


ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรอกรายละเอียดทิ้งไว้ได้เลย

หมอ-เรียนแพทย์ต่างประเทศ-มหาวิทยาลัยลูบลิน-เปิดรับสมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

??Inbox Facebook กดเลย

☎️☎️โทร : 02-645-4084, 02-645-4085

✅✅Line : @linsmedical หรือ https://line.me/R/ti/p/%40linsmedical

จะรออะไรอีก Lin’ s #เปลี่ยนเรื่องแพทย์ให้เป็นเรื่องง่าย

Leave a Comment