• 5
  • ต.ค.
  • 0
Author

ไปเรียนแพทย์ต่างประเทศกลับมาเป็นแพทย์ที่ไทยได้เลยหรือเปล่า

การเรียนในคณะแพทยศาสตร์นั้นต้องใช้ความอดทนในการเรียนและความตั้งใจเป็นอย่างมาก เพราะด้วยเนื้อหาที่มีอยู่มากมายอยู่แล้ว ก็ยังต้องคอยมั่นอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่ตัวเองให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลาอีกด้วยทั้งเนื้อหาในตำราเรียนและนอกตำราเรียน ในระหว่างที่เรียนก็ต้องฝึกปฏิบัติกับคนไข้ให้เชี่ยวชาญเพื่อให้พร้อมเข้าสู่การทำงานในโรงพยาบาลจริง ๆ แต่เมื่อเรียนจบแล้วจะสามารถทำงานมาทำงานเป็นหมอได้เลยหรือไม่นั้น คำตอบก็คือ จะต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพให้ได้เสียก่อน เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศไหน ๆ ก็ถือว่าแพทย์นั้นเป็นบคุลลากรที่สำคัญต่อเรื่องของความเป็นความตายของมนุษย์ ดังนั้นจึงต้องมีเกณฑ์มาประเมินกันก่อนว่าความรู้ของแพทย์ท่านนั้น ๆ เหมาะสมต่การรักษาคนไข้หรือไม่

เรียนที่ไทยเป็นแพทย์ที่ไทยได้เลยหรือเปล่า

หลายคนมักคิดว่าเรียนในไทยดีกว่าการไปเรียนต่างประเทศ เพราะถ้าเรียนแพทย์ในประเทศไทยจบแล้วก็เห็นเป็นหมอกันได้เลยนี่นา แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น เพราะว่านักศึกษาแพทย์ที่เรียนในประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ไทยให้ผ่านเสียก่อน โดยการสอบนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 รอบ ในแต่ละรอบก็จะวัดประเมินความรู้ที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ไปจนถึงเรื่องการวิฉัยโรค ยาและการรักษาคนไข้ ดังนั้นผู้สอบจะต้องถูกประเมินไปพร้อม ๆ กับตอนที่เรียนอยู่นั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมดูแล้วเหมือนกับว่าคนที่เรียนแพทย์ที่ไทยจบมาก็ได้เป็นหมอเลย ก็เพราะเขามีการสอบวัดความรู้ระหว่างที่เรียนอยู่นั่นเอง (ส่วนใครที่สอบไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถเป็นหมอได้เหมือนกันนะ จะต้องสอบใหม่เรื่อย ๆ จนกว่าจะผ่าน) ดังนั้นการเรียนแพทย์ต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ นะ

เมื่อไปเรียนแพทย์ที่ต่างประเทศกลับมาแล้วมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

สำหรับในของขั้นตอนนั้นจะแบ่งการสอบเป็น 3 ขั้นตอนเหมือนกับนักเรียนที่เรียนในประเทศไทย โดยเกณฑ์การสอบจะแบ่งดังนี้ 

1. มีคุณสมบัติและมีใบรับรองจากสถาบันการศึกษาว่า ได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (ระดับปรีคลินิก) หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษานับถึงวันกำหนดสอบฯ โดยได้ศึกษาครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรระดับปรีคลินิกของสถาบันการศึกษาที่แพทยสภารับรองก็สามารถสมัครสอบขั้นตอนที่ 1 ได้ เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (Basic MedicalSciences) อาจจะอยู่ประมาณชั้นปีที่ 3 หรือ 4

2. ขั้นตอนที่ 2 เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติประเภทที่หนึ่งหรือสองหรือสาม สำหรับผู้มีคุณสมบัติประเภทที่หนึ่งต้องมีใบรับรองจากสถาบันการศึกษาว่า ได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ระดับคลินิก) มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษานับถึงวันกำหนดสอบฯ โดยได้ศึกษาครบทุกรายวิชาของ 2 ชั้นปีนั้นตามหลักสูตรระดับคลินิกของสถาบันการศึกษาที่แพทยสภารับรอง ซึ่งสามารถสอบได้หลังจากรับปริญญาเรียบร้อยแล้ว

3. สำหรับขั้นตอนที่ 3 : เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะและหัตถการทางคลินิก (Objective Structured Clinical Examination : OSCE) ซึ่งจะสอบเมื่อนักศึกษากลับมา Internship ที่ประเทศไทยแล้ว

สำหรับขั้นตอนที่ 1 และ 2 ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดยกเว้นข้อสอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์เฉพาะทางด้านกฎหมายไทยหรือนิติเวชศาสตร์ อนุโลมให้ใช้เป็นภาษาไทย สำหรับขั้นตอนที่ 3 เป็นการสอบภาคปฏิบัติ จึงต้องใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ดังนั้นเรื่องของการกลับมาฝึก Internship โรงพยาบาลในประเทศจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งเรื่องของการได้ฝึกและเข้าใจการทำงานของโรงพยาบาลในประเทศไทยแล้ว ยังทำให้สามารถสื่อสารกับคนไข้คนไทยเข้าใจอีกด้วย

ทำไมการเรียนแพทย์ที่โปแลนด์เอื้อต่อการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ไทย

มีสิทธิ์ทำงานในประเทศที่เรียนหรือเปล่า

สำหรับใครที่อยากไปต่างประเทศแล้วทำงานต่อที่ประเทศนั้นต่อยาว ๆ ไปเลย จะต้องดูด้วยว่าประเทศนั้นให้ชาวต่างชาติทำงานเป็นแพทย์ในประเทศนั้นได้หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่แล้วการทำงานเป็นแพทย์จะต้องสื่อสารภาษาท้องถิ่นให้ได้ในระดับที่ดีจึงจะสามารถทำงานได้ประเทศนั้นได้

แต่บางประเทศก็ถือว่าแพทย์เป็นอาชีพสงวน สามารถทำได้แค่ผู้ที่ถือสัญชาติเท่านั้น หรือสำหรับบางประเทศคือจะให้สอบเป็นแพทย์ได้ก็ต่อเมื่อประเทศต้นทางอนุญาตให้พลเมืองของตนสอบแพทย์ได้ ซึ่งเรียกว่าการต่างตอบแทนนั่นเอง จึงทำให้หลายคนมุ่งหวังที่จะทำงานในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นทำงานเป็นแพทย์ที่อเมริกาหรือว่าอังกฤษ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://cmathai.org/

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรอกรายละเอียดทิ้งไว้ได้เลย

หมอ-เรียนแพทย์ต่างประเทศ-มหาวิทยาลัยลูบลิน-เปิดรับสมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

??Inbox Facebook กดเลย

☎️☎️โทร : 02-645-4084, 02-645-4085

✅✅Line : @linsmedical หรือ https://line.me/R/ti/p/%40linsmedical

จะรออะไรอีก Lin’ s #เปลี่ยนเรื่องแพทย์ให้เป็นเรื่องง่าย

Leave a Comment