• 6
  • ส.ค.
  • 0
Author

เส้นทางการเป็นหมอหลังเรียนจบแพทย์โปแลนด์

ไม่ว่าจะเป็นการเรียนแพทย์ต่างประเทศหรือการเรียนแพทย์ในประเทศไทยก็ตาม สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก่อนการทำงานก็คือการสอบใบประกอบวิชาชีแพทย์ไทยให้ผ่านเรียบร้อยเสียก่อน โดยถ้าเป็นนักเรียนที่เรียนแพทย์ในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วจะมีการบังคับสอบให้เรียบร้อยตั้งแต่ช่วงที่เรียนอยู่ หรือกล่าวคือเมื่อเรียบจบปีที่ 6 ก็ควรที่จะสอบใบประกอบวิชาชีพผ่านครบทั้ง 3 ขั้นตอน เพื่อที่จะได้พร้อมต่อการไปทำงานใช้ทุนอีก 3 ปีซึ่งอาจเป็นได้โรงพยาบาลใหญ่มีแพทย์มาก หรือโรงพยาบาลชุมชนที่เราจะได้กลายเป็นบุคคลากรหลักในการทำงาน ดังนั้นโรงเรียนแพทย์ในไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตนักศึกษาแพทย์ที่มีความรู้รอบด้านทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แต่ในส่วนของนักศึกษาแพทย์ที่สอบใบประกอบวิชาชีพไม่ผ่าน ก็จะต้องสอบซ้ำจนกว่าจะผ่านนั่นเองถึงจะสามารถไปทำงานได้ตามปกติ

ในส่วนของนักศึกษาแพทย์จากต่างประเทศเองก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยมีใบปริญญาเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องเตรียมตัวสู่การทำงานจริงก็คือการสอบวัดระดับความรู้ความสามารถว่าเหมาะสมต่อการทำงานในประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งการเรียนแพทย์ในแต่ละประเทศนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อยเกี่ยวกับรายละเอียดเช่น จำนวนชั่วโมงแล็ป จำนวนชั่วโมงที่ได้รักษากับคนไข้ Lin’s Thailand จึงอยากจะแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางการเป็นหมอหลังเรียนจบแพทย์โปแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีนักศึกษาไทยไปเรียนแพทย์แล้วจบกลับมาทำงานที่ไทยมากที่สุดว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง


เตรียมตัวสู่การสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ไทย (หรือเทศ)

การสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการเป็นแพทย์ทั่วโลก เพราะจะต้องมีหน่วยงานเข้ามาประเมินว่าคน ๆ หนึ่งพร้อมที่จะเข้าทำงานในระบบสาธารณสุขของประเทศนั้น โดยจะมาเป็นแพทย์ที่รักษาผู้คนหรือไม่ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของผู้คน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความจริงจังเป็นอย่างมาก ในประเทศเดียวกันก็มีหลายมหาวิทยาลัย ยิ่งถ้านับรวมกับของต่างประเทศด้วยแล้วก็ยังมีนักศึกษาที่มีความรู้แตกต่างกันเยอะไปอีก ดังนั้นจึงต้องดูว่านักศึกษาที่เรียนจบกันมาจากต่างที่ต่างเวลานี้สามารถผ่านเกณฑ์การวัดประเมินความรู้ที่เหมาะสมต่อการรักษาคนไข้จริงหรือเปล่า

อย่างในประเทศไทยเองได้แบ่งการสอบออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยจะวัดทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การแพทย์หรือความรู้ชั้นคลินิก ซึ่งจะเป็นความรู้เกี่ยวกับการรักษาคนทั้งเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ และเรื่องของวิธีการในการรักษา และในส่วนสุดท้ายขั้นตอนที่ 3 ถือว่ายากสุด ๆ นั่นก็คือการสอบกับห้องสอบจำลองสถานการณ์และการสอบกับคนไข้จริง ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติที่จะต้องทำให้ได้ตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง

ความยากในการสอบขั้นตอนที่ 3 ก็คือเรื่องของการบูรณาการในการสอบที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้อย่างเดียวกันจะสามารถสอบผ่านกันได้ง่าย ๆ แต่ผู้เข้าสอบยังต้องมีไหวพริบ ปฏิภาณในการตีโจทย์และจัดการกับความเครียด และยังต้องเข้าใจระบบการทำงานในโรงพยาบาลของประเทศไทยด้วย ว่าแพทย์ พยาบาล และบุคคลากรในโรงพยาบาลมีหน้าที่ต่อกันอย่างไร สิ่งนี่เองที่ทำให้หลาย ๆ คน รวมไปถึงแพทย์ที่เป็นชาวประเทศไม่สามารถสอบผ่านได้ แม้ว่าจะมีความรู้ในการรักษาก็ได้ เพราะไม่เคยผ่านระบบการทำงานเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลที่ไทยมาก่อน แม้ว่าจะมีความรู้ในการรักษาคนไข้จริงก็ตาม แต่ดีที่ว่านักศึกษาแพทย์จากโปแลนด์จะต้องมีช่วงฝึกงานในทุกปิดเทอมซัมเมอร์ซึ่งนักศึกษาเองก็มักจะเลือกมาฝึกงานที่ประเทศไทยกันอยู่แล้ว จึงทำให้นักศึกษาจากประเทศโปแลนด์ไม่ได้มีปัญหาในส่วนนี้กันสักเท่าไหร่


สอบผ่านใบประกอบวิชาชีพแพทย์หมายความว่าเก่งเลยหรือเปล่า

แต่ถึงอย่างนั้นการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ที่ประเทศไทยถือเป็นเพียง “จุดเริ่มต้น” เท่านั้น นั่นหมายความเมื่อสอบใบประกอบวิชาชีพผ่านแล้ว ถึงจะได้เวลาในการทำงานจริง ๆ จึงอาจจะเกิดเป็นคำถามขึ้นมาอีกว่า แล้วถ้าเราเรียนจบจากต่างประเทศแล้ว สอบผ่านใบประกอบวิชาชีพแพทย์ไทยแล้ว เราจะมีความรู้เทียบเท่ากับนักศึกษาในประเทศไทยแล้วออกไปทำงานได้เลยหรือเปล่า เอาจริง ๆ ต้องบอกเลยว่าหากสามารถฝ่าฟันมาได้จนถึงจุดนี้ ถือว่าเราประสบความสำเร็จในการเรียนในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เพราะว่าเราสามารถที่จะพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเราสามารถสอบผ่านทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากหน่วยงานกลางได้เหมือนกับที่นักศึกษาไทยสอบเลย

ถึงอย่างนั้นแพทย์บางประเทศที่บางคนไปเรียนอาจจะไม่ได้เจอกับคนไข้จริงขนาดนั้น ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย อย่างบางประเทศคนไข้สามารถเลือกไม่รักษากับนักศึกษา หรือจำกัดการเข้าถึงตัวคนไข้ ทำให้มหาวิทยาลัยออกหลักสูตรภาคทฤษฎีแน่น แล้วให้นักศึกษาฝึกงานในโรงพยาบาลอีกทีหลังเรียนจบ 1 – 2 ปี จึงค่อยสอบใบประกอบวิชาชีพก็มีเหมือนกัน แพทยสภาไทยเองก็ให้นักศึกษาที่เรียนจบจากต่างประเทศมาฝึกในประเทศไทย 1 ปีเต็มก่อนที่จะสอบใบประกอบวิชาชีพไทย เพื่อให้นักศึกษาคุ้นชินกับระบบโรงพยาบาลและการทำงานในประเทศไทย ซึ่งการฝึกนี้ช่วยให้นักศึกษาแทพย์ต่างประเทศที่มีความรู้พร้อมสามารถสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพได้อย่างง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม เราต้องไปลืมว่าการสอบใบประกอบวิชาชีพผ่านเป็นเพียงจุดเริ่มต้นสู่การทำงานเท่านั้น หนทางในการรักษาคนไข้ยังอีกยาวไกล เราจะต้องฝึกฝนฝีให้มาก เมื่อมีโอกาสควรไปอบรมตามโรงพยาบาลหรือทำงานในคลินิกเพื่อเสริมสร้างความรู้อีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องของการจูนคำศัพท์และการทำหัตการให้เหมือนกับที่ระบบแพทย์ไทยใช้กันจริง


เตรียมพร้อมการทำงานจริง

เมื่อสอบผ่านความรู้พร้อมก็ถึงเวลาที่จะต้องไปทำงานแล้ว เนื่องจากการเรียนแพทย์ต่างประเทศไม่ต้องใช้ทุน ดังนั้นก็สามารถที่จะไปทำงานที่ไหนก็ได้โดยไม่ได้มีข้อผูกมัด จะเลือกทำงานคลินิก โรงพยาบาลหรือทำงานเอกชนก็ได้เช่นกัน แต่ก็ต้องเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เช่น การเรียนต่อเฉพาะในประเทศที่มีความจำกัดมากกว่าการเรียนแพทย์ทำให้แพทยสภาต้องมีข้อบังคับเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงาน โดยผู้ที่จะเรียนต่อเฉพาะทางได้ ก็ต้องเป็นผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐมาก่อนอย่างน้อย 3 ปี หรือใครจะเลือกเรียนในต่างประเทศก็ไม่มีปัญหา ทั้งนี้เราเพียงต้องเตรียมตัวให้พร้อมว่าเราจะเลือกเรียนต่อหรือไม่ ถ้าเรียนต่อจะเรียนต่อด้านไหนเพื่อให้สามารถวางแผนต่อไปได้นั่นเอง


ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรอกรายละเอียดทิ้งไว้ได้เลยหมอ-เรียนแพทย์ต่างประเทศ-มหาวิทยาลัยลูบลิน-เปิดรับสมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

??Inbox Facebook กดเลย

☎️☎️โทร : 02-645-4084, 02-645-4085

✅✅Line : @linsmedical หรือ https://line.me/R/ti/p/%40linsmedical

จะรออะไรอีก Lin’ s #เปลี่ยนเรื่องแพทย์ให้เป็นเรื่องง่าย

Leave a Comment