• 19
  • พ.ค.
  • 0
Author

5 ขั้นตอนวางแผนหลังเรียนจบแพทย์โปแลนด์

สำหรับนักเรียนที่ต้องการเรียนแพทย์ต้องเตรียมตัวสำหรับสอบตั้งแต่เนิ่น ๆ ยิ่งเตรียมตัวตั้งแต่รู้ตัวเลยยิ่งดี เพราะว่าการเรียนแพทย์นั้นมีอัตราการสอบแข่งขันที่สูงมาก ทำให้นักเรียนต้องพยายามทำคะแนนให้ได้มากที่สุดในทุกวิชาไม่ว่าจะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการเรียนแพทย์หรือเป็นวิชาอื่น ๆ ก็ต้องได้คะแนนดีไม่แพ้กัน นอกจากนี้การเรียนแพทย์ยังถือว่าเป็นการเรียนตลอดชีพไม่ใช่ว่าพอเราเข้าไปเรียนได้แล้วก็ถือว่าจบ แต่จะต้องวางแผนต่อด้วยว่าหลังจากที่เรียนจบหลักสูตรแล้ว เราวางแผนที่จะทำอะไรต่อหลังเรียนจบ

การเรียนแพทย์โปแลนด์เองก็เช่นกัน นักเรียนจะต้องวางแผนต่อด้วยว่าหลังจากที่เรียนจบแล้วจะทำอะไรต่อ เพราะว่าการเรียนแพทย์ที่โปแลนด์ก็มีความแตกต่างจากการเรียนแพทย์ที่ประเทศไทยตรงที่ว่านักเรียนจะต้องหาข้อมูลเองในหลายขั้นตอน ดังนั้นวันนี้ Lin’s Thailand จึงอยากที่จะรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการไปเรียนแพทย์ที่โปแลนด์ว่าหลังจากที่เรียนจบแล้วจะต้องวางแผนหลังจากเรียนจบอย่างไร


 1. วางแผนเรื่องการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์

เรื่องแรกที่สำคัญที่สุดสำหรับนักศึกษาแพทย์คือใบประกอบวิชาชีพเพราะถือเป็นใบเบิกทางสำหรับการทำงานเต็มตัว หากไม่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์ก็จะไม่ได้สามารถทำงานทั้งที่ตั้งใจไปเรียนถึงประเทศโปแลนด์ได้ ซึ่งการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ไทยนั้นนักศึกษาที่เรียนที่ไทยและนักศึกษาที่เรียนจากโปแลนด์จะต้องสอบข้อสอบเดียวกัน ทำให้เป็นการันตีคุณภาพของแพทย์ไม่ว่าจะเรียนที่ไทยหรือเรียนจากต่างประเทศ โดยจัดสอบตั้งแต่ช่วงปีสามถึงปีสี่เป็นต้นไป การวางแผนสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์จึงสามารถวางแผนได้ตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ หรือจะมาเริ่มสอบขั้นตอนที่ 1 หลังจากที่เรียนจบก็ได้

แต่สำหรับการสอบใบประกอบวิชาชีพนั้น นักเรียนแพทย์ไม่จำเป็นต้องสอบเฉพาะแค่ที่ไทยเท่านั้น การเรียนแพทย์ที่โปแลนด์เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ได้ทั่วโลก โดยประเทศที่นักศึกษาสอบใบประกอบวิชาชีพมากที่สุดก็คืออเมริกา รองลงมาได้แก่อังกฤษเพราะว่าล้วนแต่เป็นประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ ทำให้เอื้อต่อการสอบใบประกอบวิชาชีพและการทำงานในอนาคต ดังนั้นการวางแผนสอบใบประกอบวิชาชีพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับแพทย์ที่เรียนจบจากต่างประเทศ


2. หาสถานที่ฝึกงาน

แม้ว่าเราจะได้เรียนในมหาวิทยาลัยมาถึงหกปี ได้ฝึกฝนทักษะและความรู้มามากมาย แต่ว่าระบบการรักษาและระบบโรงพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาล แต่ละประเทศนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเราไปทำงานในประเทศที่เราไม่ได้จบมา เรื่องของการฝึกงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถือว่าเป็นการเรียนรู้ระบบการทำงานก่อนที่จะสอบใบประกอบวิชาชีพและทำงานจริง และยังทำให้เราเห็นภาพด้วยว่าการทำงานหลังเรียนจบจะเป็นอย่างไร

สำหรับในประเทศไทย แพทย์ที่เรียนจบจากต่างประเทศทุกคนจะต้องเข้ารับการฝึกงานเป็นระยะเวลาหนึ่งปี จึงจะมีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ไทยได้ โดยโรงพยาบาลที่ไปฝึกงานจะต้องเป็นโรงพยาบาลที่ทางแพทยสภาไทยกำหนดในแต่ละปี ซึ่งในช่วงเวลาฝึกงานนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานด้านสาธารณสุขในประเทศไทย และสำหรับนักเรียนที่ต้องการไปทำงานที่ต่างประเทศก็ควรที่จะศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของประเทศนั้น ๆ บางประเทศกำหนดให้ขึ้นทะเบียนชั่วคราวก่อนแล้วค่อยฝึก จากนั้นค่อยขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์ หรือบางประเทศอาจจะต้องมีการฝึกก่อนค่อยสอบทีเดียว ดังนั้นเรื่องของสถานที่ฝึกงานจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่นักศึกษาแพทย์จากโปแลนด์จะต้องพิจารณาหลังเรียนจบ


3. เรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง

แม้ว่าการเรียนแพทย์เฉพาะทางไม่ใช่ภาคบังคับ แต่ก็ถือว่าเป็นใบเบิกทางสู่การทำงานในอนาคต ทำให้หลายคนคนเลือกที่จะเรียนต่อ โดยหลังจากทำงานมาได้สักระยะหนึ่ง เราก็จะมีความชอบในการรักษาที่เฉพาะทางมากขึ้น บางคนรู้สึกอยากรักษาเด็กเป็นพิเศษ บางคนอยากรักษาตาเป็นพิเศษ แต่การเรียนแพทย์เฉพาะทางก็มีหลายเรื่องที่ต้องพิจารณา ทั้งจำนวนโควตาที่เปิดรับในแต่ละปีว่ามหาวิทยาลัยไหนเปิดรับสมัครสาขาไหน จำนวนเท่าไหร่ ซึ่งต้องบอกว่าการเรียนต่อเฉพาะทางในประเทศไทยค่อนข้างจำกัดที่นั่งมาก หลายคนจึงเลือกเรียนต่อในต่างประเทศ เพราะการเรียนต่อในต่างประเทศก็ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานในอนาคตมากขึ้นมากอีกด้วย แต่การเรียนแพทย์ต่างประเทศก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในอเมริกาและอังกฤษจึงควรศึกษาและวางแผนให้ดีก่อนที่จะเดินทางไปเรียน


4. ตัดสินใจเรื่องเกี่ยวกับการทำงาน

แน่นอนว่าการเรียนแพทย์ก็ต้องทำงานเป็นแพทย์ แต่ว่าการทำงานเป็นแพทย์ที่จริงแล้วก็สามารถทำงานได้หลากหลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นทำงานในโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่นักเรียนที่จบในประเทศไทยจะมีช่วงเวลาใช้ทุนที่ต้องไปทำงานในโรงพยาบาลรัฐอยู่แล้วซึ่งก็จะมีข้อดีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนต่อด้วย แต่หลายคนก็เลือกทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเพราะเรื่องของค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่ามาตรฐาน ในขณะที่บางคนก็มีกิจการของที่บ้าน หรือกิจการของคนรู้จัก อาจจะเป็นคลินิกหรือสถานพยาบาลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่า

ในขณะที่บางคนอาจจะเลือกทำงานเป็นพนักงานบริษัท เช่น แพทย์ตามออฟฟิศก็มีเหมือนกัน แต่ก็ต้องการเข้าใจว่าการเลือกทำงานในสถานที่ต่าง ๆ มีความแตกต่างกันทั้งเรื่องของค่าตอบแทน การเรียนต่อ ความยืดหยุ่นในการทำงาน ดังนั้นชีวิตหลังเรียนจบก็ต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบครอบด้วยเช่นกัน


5. อย่าทิ้งเรื่องการเรียนเป็นอันขาด

การเรียนแพทย์ไม่จบเมื่อเรารับปริญญาเท่านั้น แต่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าให้ความรู้ชั้นปรีคลินิกหายไป แต่ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บใหม่ ๆ งานวิจัยที่ออกใหม่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการรักษา อย่างเช่นการเกิดโรคระบาดก็ในช่วงที่ผ่านมาก็ถือว่าเป็นความท้าทายที่ต้องเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ สำหรับแพทย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นการเรียนแพทย์จึงจำเป็นที่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต


ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรอกรายละเอียดทิ้งไว้ได้เลย

หมอ-เรียนแพทย์ต่างประเทศ-มหาวิทยาลัยลูบลิน-เปิดรับสมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

??Inbox Facebook กดเลย

☎️☎️โทร : 02-2585619

✅✅Line : @linsmedical หรือ https://line.me/R/ti/p/%40linsmedical

👯‍♂️👯‍♂️Tiktok : https://www.tiktok.com/@linsthailand?

จะรออะไรอีก Lin’ s #เปลี่ยนเรื่องแพทย์ให้เป็นเรื่องง่าย

Leave a Comment